18 พฤษภาคม 2024
สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก

ศพก.อำเภอบางกระทุ่ม

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

อำเภอบางกระทุ่ม

สินค้าหลัก                      : ข้าว

พื้นที่เป้าหมาย                : 157,000 ไร่

เกษตรกรเป้าหมาย         : 5,498 ราย

สถานที่ตั้ง                      : 46/1 หมู่ 2 ตำบลนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

พิกัดXY                         :  X : 643009    Y : 1835644 Zone : 47

พิกัดLat/Long              :  Latitude : 16.59873 Longitude :100.34060

 เกษตรกรต้นแบบ : นายสมพงษ์  อ้นชาวนา / ประธาน ศพก.บางกระทุ่ม โทร  089-437-5924

แนวทางการพัฒนา           :

  • ลดต้นทุนการผลิตข้าว ให้ได้ 1,900 บาท (จากเดิม 4,900 บ./ไร่ ลดลงอย่างน้อยไร่ละ 3,000 บาท (61.2%)
  • ผลิตข้าวครบวงจร (ปลูก-แปรรูป-จำหน่าย)
  • เชื่อมโยงและขยายผลไปสู่แปลงใหญ่ข้าว
  • การป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยวิธีผสมผสาน เพื่อลดการใช้สารเคมี

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้        :  เป็นสถานที่เรียนรู้และศึกษาดูงานด้านการปลูกข้าวแบบเบ็ดเสร็จ การทำเกษตรผสมผสาน การจัดการดินปุ๋ย

ฐานการเรียนรู้ : 8 ฐาน

ฐานการเรียนรู้ที่ 1 การจัดการดินปุ๋ย

ฐานการเรียนรู้ที่ 2 เมล็ดพันธุ์ดี

ฐานการเรียนรู้ที่ 3 การทำนาโยน

ฐานการเรียนรู้ที่ 4 การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน

ฐานการเรียนรู้ที่ 5 การสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเกษตร

ฐานการเรียนรู้ที่ 6 การแปรรูปข้าว

ฐานการเรียนรู้ที่ 7 เกษตรผสมผสาน

ฐานการเรียนรู้ที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียง

องค์ความรู้ : การลดต้นทุนการผลิตข้าว

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ดี จากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เช่น ศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวจังหวัดพิษณุโลก
  2. ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งเกษตรกรทั่วไปใช้อัตรา 30-35 กิโลกรัม/ไร่
  3. ไถกลบต่อซัง โดยไม่เผาฟางข้าวในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ซึ่งกเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายจุลินทรีย์ในดิน และสร้างมลพิษในอากาศ
  4. ผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง ปุ๋ยคอก คือ มูลวัว ตะกอนอ้อย โดโลไมค์ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ อัตรา 1 ไร่/50 กิโลกรัม
  5. การปลูกข้าวจะใช้ การปลูกแบบปักดำ หรือโยนกล้าข้าว เพราะแสงแดดจะส่องถึงพื้นดินง่ายต่อการกำจัดวัชพืช แมลงไม่รบกวน
  6. การให้น้ำหลังปลูกแล้วประมาณ 1 เดือนจะงดการให้น้ำไปถึง 20 วัน (เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว) เพราะข้าวเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ขาดน้ำ ดินจะแห้งแตกระแหง หลังจากนั้นเติมน้ำลงนา แล้วหว่านปุ๋ย จึงทำให้ปุ๋ยลงไปตามรอยแตกระแหง ข้าวจึงนำไปใช้ได้เลย และระหว่างดินแตกระแหงง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และหน้าดินแห้งเป็นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ เช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  7. ผลิตน้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นลงไปในแปลงนาทุก 7 วัน เพื่อไล่แมลง
  8. สกัดสมุนไพรขมได้แก่ บอระเพ็ด เปลือกสะเดา หนอนตายหยาก สาบเสือ เหล้าขาว ฯลฯ เอามาฉีดพ่นเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา
  9. ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 ตอนข้าวท้องสูตร 0-0-60 เพื่อให้ข้าวติดเมล็ดและน้ำหนักดีอัตราไร่ละ 10 กิโลกรัม
  10. ใช้ฮอร์โมนไข่ ปุ๋ยน้ำหมักจากสัตว์หรือปลา น้ำหมักขี้หมู ฉีดพ่นช่วงข้าวท้อง
  11. ช่วงข้าวออกรวง ให้ใส่น้ำเล็กน้อยเพื่อให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์เต่ง อย่าให้น้ำมาก

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร    นางสาวสุพัชชา สุขน้อย  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

เบอร์โทรศัพท์ :  086-116-8982

ปรับปรุงข้อมูล : มีนาคม 2565

กัญจน์ชญา วงศ์ฝั้น